PGClinic

ฝ้า คืออะไร ?
ฝ้า คือลักษณะของผิวหนังที่เมลานินหรือเม็ดสีผิวทำงานมากเกินไปจนทำให้เกิดเป็นปื้นเล็ก ๆ หรือจุดสีน้ำตาลอ่อนไปจนถึงเข้ม หรือมีลักษณะเป็นสีดำ,เทา มักพบในบริเวณใบหน้า โหนกแก้ม คาง หน้าผาก รวมไปถึงบริเวณหน้าอก แขน ลำคอ เป็นต้น ลักษณะของฝ้าจะมีทั้งแบบตื้นที่จะอยู่ในระดับผิวหนังกำพร้า (ผิวหนังชั้นนอก) และแบบฝังลึกที่จะอยู่ในระดับที่ลึกกว่าผิวหนังกำพร้า ซึ่งฝ้าทั้ง 2 ประเภทนี้จะมีวิธีการรักษาที่ต่างกันและขึ้นอยู่กับความเหมาะสมกับสภาพผิวของแต่ละบุคคลครับ

6 สาเหตุหลักของการเกิดฝ้า
1.แสงแดด
UVA,UVB และความร้อน กระตุ้นทำให้เกิดฝ้า และสีชัดเจนขึ้น
2.พันธุกรรม
หากมีคนในครอบครัวเป็นฝ้า โอกาสที่เป็นฝ้าจะเพิ่มมากขึ้น
3.ฮอร์โมน
พบได้บ่อยในหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ที่รับประทานยาคุมกำเนิด
4.แสงสีฟ้า
แสงจากมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ สามารถกระตุ้นการสร้างเม็ดสีได้เหมือนแสงแดดเช่นกัน
5.เครื่องสำอางค์
ผลิตภัณฑ์ที่มีสารปรอท หรือสารสเตียรอยด์ อาจกระตุ้นให้เกิดฝ้า หรือทำให้ผ้าหนักขึ้น
6.ความเครียด
ความเครียดและพักผ่อนไม่เพียงพอ กระตุ้นฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการผลิตเม็ดสีเมานิน นอนไม่พอ = เป็นฝ้าได้ง่ายขึ้น

แม้ว่าฝ้าจะเป็นปัญหาผิวที่พบได้ทั่วไป แต่สิ่งที่หมอบีสังเกตจากเคสในคลินิกก็คือ…ฝ้ามักจะมีพฤติกรรม “เลือกที่เกิด” ครับ โดยเฉพาะใน 5 ตำแหน่งยอดฮิตนี้
1. โหนกแก้ม บริเวณที่แดดส่องตรงมากที่สุด! แสง UV กระแทกเต็ม ๆ จนกระตุ้นการสร้างเม็ดสีผิวใครไม่ทาครีมกันแดดอย่างจริงจัง ตรงนี้มักมาแน่นอนครับ
2. หน้าผาก บริเวณนี้ผิวบาง แถมหลายคนมีพฤติกรรมชอบใช้รองพื้นหนา ๆ เจอทั้งแดดและความร้อนจากร่างกายเอง ยิ่งไปกระตุ้นเมลานินให้ทำงานหนัก
3. จมูก เป็นบริเวณที่พื้นที่เล็ก แต่เป็นจุดที่โดนแดดก่อนบริเวณอื่น ใครที่ชอบโดนแดดตอนขับรถ หรือไม่ใส่หมวก ฝ้ามักเริ่มต้นที่สันจมูกได้เลยครับ
4. เหนือริมฝีปาก เรียกได้ว่าเป็น “ฝ้าเงา” ที่ทำให้คนไข้หลายคนไม่มั่นใจ ดูเหมือนเงาดำ ๆ เหมือนหนวด! เกิดจากฮอร์โมน หรือการโดนแดดสะสมก็ได้
5. คาง แม้ไม่เจอแดดตรง ๆ แต่ฝ้าอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือการอักเสบสะสม เช่น สิวเรื้อรังบริเวณคาง

ประเภทของฝ้า
1.ฝ้าแดด
มีลักษณะหมองคล้ำ สีดำ เป็นบริเวณกว้างเกิดจากผิวที่โดดแดดโดยตรง
2.ฝ้าตื้น
ไม่รุนแรงมาก เกิดความคล้ำบนชั้นหนังกำพร้า สามารถรักษาหายได้ง่ายกว่าฝ้าประเภทอื่นๆ
3.ฝ้าลึก
เป็นฝ้าที่รุนแรงมาก ไม่สามารถทาครีมแล้วหายได้ แนะนำเป็นการพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรักษา
4.ฝ้าผสม
มีหลากหลายชนิดรวมกัน เกิดขึ้นได้หลายปัจจัยเช่นกัน
5.ฝ้าเลือด
มีลักษณะเป็นเม็ดสีแดงเล็กๆ เกิดจากความผิดปกติของเส้นเลือดฝอยบนใบหน้า

วิธีรักษาฝ้า
1. หลีกเลี่ยงแสงแดด และทาครีมกันแดดทุกวัน ใช้กันแดดที่มี SPF 30–50 และ PA+++ ขึ้นไป
2. ทายารักษาฝ้า ต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะบางตัวอาจทำให้ผิวบางหรือระคายเคืองได้
3. การใช้เวชสำอางหรือสกินแคร์ที่ช่วยลดเม็ดสี เน้นผลิตภัณฑ์ที่ ลดการสร้างเม็ดสี และ ต้านอนุมูลอิสระ
4. การฉีดเมโสหน้าใส เป็นการผลักวิตามินและสารต้านเม็ดสีเข้าสู่ผิวชั้นลึก เห็นผลเร็วในเคสฝ้าใหม่หรือฝ้าตื้น ได้รับความนิยมมากที่สุด
5. เลเซอร์รักษาฝ้า ช่วยลดเม็ดสีเมลานิน และกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิว
6. การผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดผลไม้ (AHA, BHA) ช่วยให้ผิวผลัดเซลล์เก่า ลดความหมองคล้ำ เหมาะกับฝ้าตื้น แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง และไม่ควรทำบ่อย
7. ดูแลจากภายใน พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากขึ้นเยอะ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมทำร้ายผิว

วิธีป้องกัน ไม่ให้ฝ้าถามหา!!
1. เลี่ยงแสงแดดจัด
โดยเฉพาะช่วง 10.00 – 15.00 น. ช่วงที่รังสี UV แรงสุด พีคสุด แค่เดินออกไปรับแดดแบบไม่ป้องกัน ฝ้าก็อาจเริ่มถามหาได้แล้ว
2. ทาครีมกันแดดเป็นประจำ
SPF 50 PA+++ ขึ้นไป ทาทุกวัน แม้วันไม่ได้ออกจากบ้าน อย่าลืมเติมระหว่างวัน โดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้มและหน้าผาก
3. ใช้สกินแคร์อ่อนโยน
หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีสารระคายเคือง เช่น แอลกอฮอล์, พาราเบน, น้ำหอม เลือกกลุ่มที่ช่วยปลอบประโลมผิว เช่น ว่านหางจระเข้, เซราไมด์, ไนอาซินาไมด์
4. หลีกเลี่ยงยาที่กระตุ้นฮอร์โมน
เช่น ยาคุมกำเนิดบางชนิด หรือฮอร์โมนทดแทน หากจำเป็นต้องใช้ ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้นครับ
5. พักผ่อนให้พอ & จัดการความเครียด
เพราะ ความเครียด + นอนน้อย ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนผิดปกติ เป็นอีกตัวกระตุ้นให้เม็ดสีผิวทำงานหนัก และเกิดฝ้าได้ง่ายขึ้น